วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟักทอง




ฟักทอง




ลักษณะ


ฟักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Decne. ฟักทองแบ่งออกเป็นสองตระกูล อย่างแรกก็คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) จะมีผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และอีกตระกูลคือตระกูลสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยนั้น ผิวของผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองสลับเขียว ผิวขรุขระเล็กน้อยโดยเปลือกจะมีลักษณะแข็งเนื้อในมีสีเหลือง พร้อมด้วยเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่
ประโยชน์ของฟักทอง นั้นมีหลากหลายเพราะฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามินบี วิตามินเอ เหล็ก แคลเซียมซิงค์ เป็นต้น
ฟักทอง ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรี่และไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัมจะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น


ประโยชน์

  1. ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิว ให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยปกป้องผิวไม่ให้เหี่ยวย่น
  2. ประโยชน์ฟักทอง ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  3. ฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  5. น้ำมันจากเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
  6. เมล็ดฟักทองช่วยทำให้อารมณ์ดี เพราะมีสารที่ช่วยในการสร้าง Serotinin ซึ่งมีผลต่ออารมณ์
  7. มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  8. เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรืออยากลดความอ้วน เพราะมีไขมันน้อยกากใยสูง
  9. ฟักทองมีกรดโปรไพโอนิคซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง
  10. มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  11. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ
  12. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่าบั้นเอว
  13. มีส่วนช่วยป้องกันโรคผิวหนัง
  14. เปลือกฟักทองมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  15. ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายหลังจากร่างกายทำงานอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  16. รากฟักทองนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
  17. ฟังทอกจัดว่ามีกากใยอาหารสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
  18. ฟักทองมีฤทธิ์อุ่นซึ่งจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
  20. สรรพคุณของฟักทอง มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
  21. สรรพคุณฟักทอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่ว
  22. ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากขยายใหญ่มากขึ้น
  23. ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ
  24. ช่วยขับพยาธิตัวตืด โดยนำเมล็ดฟักทองประมาณ 50 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำตาล นม และเติมน้ำลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แล้วนำมาแบ้งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ทุกๆ 2 ชั่วโมง
  25. ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
  26. รากฟักทองเมื่อนำมาต้มดื่มจะช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ถอนพิษของฝิ่นได้
  27. เยื่อกลางของผลฟักทอง สามารถนำมาใช้พอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวด และอักเสบได้
  28. ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง อย่าง น้ำฟักทองคั้นสด พายฟักทอง
  29. นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ย่างหลากหลาย เช่น ซุปฟักทอง แกง กินกับน้ำพริกเป็นต้น





มะกรูด



มะกรูด


ลักษณะ

มะกรูด ภาษาอังกฤษ Kaffir limeLeech limeMauritius papeda มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus x hystrix L. และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกเช่น มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล ส้ม (Citrus) โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
หลายๆท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่างๆแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

 ประโยขน์
  1. มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
  2. ประโยชน์ของมะกรูดช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอมไพลเ ฉียงพร้า ขมิ้นอ้อยในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
  5. สรรพคุณมะกรูดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
  7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
  8. สรรพคุณของใบมะกรูดสามารถใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
  9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึงประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
  10. ใบมะกรูดสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
  11. สรรพคุณของมะกรูดช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล,ราก)
  12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณเหงือก
  13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  14. ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงส์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
  15. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
  16. ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
  17. มะกรูด สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
  18. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
  19. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
  20. ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นระออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีทเม้นท์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่ายเพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
  21. ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาชันนะตุได้
  22. ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซึกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
  23. มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
  24. ประโยชน์ของใบมะกรูด เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสดๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ
  25. มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
  26. ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อยๆปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
  27. น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
  28. ประโยชน์ใบมะกรูด ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
  29. ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
  30. น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
  31. มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
  32. ยาฟอกเลือกสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
  33. มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูด หรือ ยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
  34. หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
  35. มะกรูดประโยชน์ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่าๆกัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
  36. ประโยชน์มะกรูดช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูดตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
  37. ช่วยทำความสะอาดครบตามซอกเท้า เพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้ สับปะรด ส่วน / สะระแหน่ 1/2 ส่วน / น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน / เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
  38. การอบซาวนาสมุนไพร เพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นสัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น


มะเขือเทศ




มะเขือเทศ







ลักษณะ

มะเขือเทศ หรือ Tomato ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์มะเขือเทศคือ Lycopersicon Esculentum Mill มะเขือเทศคือผักหรือผลไม้ ? คำตอบก็คือ “มะเขือเทศคือผลไม้” ครับตามคำนิยามของหลักทางพฤกษศาสตร์ เพราะผลไม้คือส่วนของรังไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ของพืชดอก ส่วน ผัก คือพืชที่กินได้ของพื่ชล้มลุก ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ก้าน หัว หน่อ ดอก ซึ่งโดยปกติแล้วคนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่ามะเขือเทศคือผักเพราะนำไปใช้ประกอบอาหารกันเป็นส่วนใหญ่ และมักคิดว่าผลไม้คือสิ่งที่ให้ความหวานนั่นเอง โดยมะเขือเทศที่นิยมรับประทานมากคือ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี และคุณรู้หรือไม้มะเขือเทศนั้นจัดว่าเป็นผลไม้ที่คนทั่วโลกนิยมรับประทานกันมากที่สุด โดยนิยมรับประทานกันมากกว่ไม้ยอดนิยมอันดับ 2 อย่าง กล้วย มากถึง 16 ล้านตันต่อปี ส่วนผลไม้อันดับ 3 คือ ตามลำดับ
มะเขือเทศ นอกจากจะเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุดในโลกแล้ว ประโยชน์ของมะเขือเทศยังมีอยู่มากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามีนวีวิตามิเอ วิตามินแค โดยมะเขือเทศขนาดปานกลางนั้นจะมีปริมาณของวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอ้ทั้งลูก และมะเขือเทศหนึ่งผลมีปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการจำนวน 1 ใน 3 ของวิตามินเอทีร่างกายต้องการต่อวันเลยทีเดียว!! และยังมีสารจำพวก ไลโคพีน (Lycopene) แคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน และ กรดอะมิโนเป็นต้น และมะเขือเทศยังจัดว่าเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย เช่น ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ขับปัสสาวะ รักษาความดัน เป็นต้น

ประโยชน์

  1. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย
  3. น้ำมะเขือเทศช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
  4. ช่วยเสริมคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
  5. มีวิตามินเอซึ่งมีส่วนชวยบำรุงสายตา
  6. มะเขือเทศ มีบีตาแคโรทีน และฟอสฟอรัสในปริมาณมาก
  7. มะเขือเทศช่วยในการรักษาสิว ด้วยการนำน้ำมะเขือเทศมาพอกผิวหน้า หรือฝานบางๆแล้วนำมาแปะหน้าก็ได้
  8. ช่วยทำให้ผิวหน้าเต่งตึงสดใส ด้วยการนำน้ำมะเขือเทศมาพอกผิวหน้า หรือฝานบางๆแล้วนำมาแปะหน้าก็ได้
  9. มะเขือเทศใช้นำมาทำเป็นน้ำผลไม้ โดยน้ำผลไม้ที่ขึ้นชื่อก็คือ น้ํามะเขือเทศดอยคํา
  10. เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู เช่น ข้าวผัด ซุป ยำต่างๆ เป็นต้น
  11. ช่วยใหร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคหอบหืดได้มากถึง 45%
  12. ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หริออัลไซเมอร์
  13. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน
  14. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  15. มะเขือเทศมีฤทธิ์ในการช่วยขับปัสสาวะ
  16. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  17. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  18. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ การเกิดโรคหัวใจวาย สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  20. ช่วยในระบบย่อยในกระเพาะอาหารและช่วยในการขับถ่ายอุจจาระได้สะดวก
  21. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือเชื้อราที่ปาก
  22. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  23. ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% หากรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
  24. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ในเพศหญิง
  25. ซอสมะเขือเทศหมักผม ด้วยการใช้มะเขือเทศหมักผมจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนไปของสีผม อันเนื่องมาจากการว่ายในน้ำในสระที่มีคลอรีน
  26. ซอสมะเขือเทศนำมาใช้ขัดเครื่องประดับเงินชิ้นโปรดของคุณให้เงางามเหมือนเดิมได้ ด้วยนำซอสมะเขือเทศมาถูแล้วล้างน้ำออก
  27. ซอสมะเขือเทศช่วยในการดับกลิ่นคาว เศษอาหาร กลิ่นปลาสลิดได้เหมือนกันนะ เพียงแค่เปิดฝาซอสทิ้งไว้ 1 คืนเท่านั้น
  28. ซอสมะเขือเทศช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหลังจากการหกล้ม หรือถูดมีดบาดได้




กระเพรา





กระเพรา







ลักษณะ

ต้นกะเพรา เป็นไม้ล้มลุกซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Labiatae (Lamiaceae) สูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลาบเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก และปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่


ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-4 ฟุต โคนของลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม

ใบ : ใบสีเขียวเรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนเฉพาะส่วนที่เป็นยอดของมันจะมีมากกว่าส่วนอื่น

กิ่ง: กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของมันจะอ่อน

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นเป็นชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง

เมล็ด : เมื่อแก่หรือแห่งเมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน

การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดหรือลำต้น ในการขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นได้ดีร่วนซุย น้ำน้อย

ส่วนที่ใช้ : ใบ เมล็ด ราก





สรรพคุณ

 ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งประกอบด้วย linalool และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อนสก 1 กำมือ มาต้มให้เดือดแล้วกรองน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็กทารกให้เอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณรอบ ๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของเด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหารได้อีก สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบฌตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ จะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ด นำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย ราก ใช้รากที่แห้แล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ
 


ผักชีลาว




ผักชีลาว

ลักษณะ

ผักชีลาว ภาษาอังกฤษ : Dill (อ่านว่า ดิล) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anethum graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ Apiaceae หรือ Umbelliferae เช่นเดียวกับผักชีและผักชีอม สำหรับชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ผักชีเมือง (น่าน), ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร), ผักชี (เลย,ขอนแก่น), เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง) เป็นต้น จัดเป็นพืชในตระกูลล้มลุกชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) เช่นเดียวกับ ผักชี ผักชีลาว จะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลายๆคนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย
 ประโยชน์ของผักชีลาว


  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตาต่างๆ (เพราะมีวิตามินเอสูงมาก)
  3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (มีแคลเซียมสูง)
  4. ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว (ผลแก่)
  5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
  6. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  7. ช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  8. ผักชีลาว ประโยชน์ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (เบต้าแคโรทีน)
  9. ช่วยขยายหลอดเลือด
  10. ช่วยบำรุงปอด (ผล)
  11. ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  12. ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  13. แก้หอบหืด (ผล)
  14. ช่วยแก้อาการไอ (ผล)
  15. ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล)
  16. สรรพคุณของผักชีลาว ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร (ใบ)
  17. ช่วยลดอาการโคลิค (Baby Colic) หรืออาการ “เด็กร้องร้อยวัน” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม (ผล)
  19. สรรพคุณผักชีลาว ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร (ใบ)
  20. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  21. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือจะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ผลแก่)
  22. แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน (ต้นสด)
  23. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  24. ผักชีลาว สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนนำมาต้มกินเป็นอาหาร (ใบ)
  25. แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
  26. ช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้นสด)
  27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
  28. ช่วยแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
  29. ประโยชน์ผักชีลาว ช่วยแก้เหน็บชา (ทั้งต้น)




ข้าวโพด




ข้าวโพด




ลักษณะ

ข้าวโพดเป็นธัญพืช ที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน นอกจากจะมีฝักและเมล็ดที่มีรสชาติ หวาน แล้วยังประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย ยิ่งในปัจจุบันยุคไอที ข้าวโพดเป็นธัญพืชชั้นดี ที่จะช่วยดูแลสุขภาพร่างกายของเรา และป้องกันโรคต่างๆอีกด้วย มาดูกันว่าข้าวโพดมีประโยชน์อะไรบ้างข้าวโพด นอกจากจะเป็นพืชที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในประเทศไทยเรา ที่ให้คุณค่าต่างๆมากมาย ทั้งการบริโภค แปรรูป และใช้สร้างรายได้ต่างๆมากมาย  เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกง่าย และการดูแลที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ออกผลผลิตได้ทีละมาก อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเรามากอีกด้วย

ชนิดของข้าวโพด


ข้าวโพดจะถูกจัดออกเป็น 5 กลุ่ม หลักๆนะครับ

  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn)
  • ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn)
  • ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn)
  • ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn)
  • ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn)

คุณค่าทางอาหารของข้าวโพด

  • คาร์โบไฮเดรต  “ข้าวโพด”มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดหนัก 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ไขมัน  เมล็ดข้าวโพดมีไขมันอยู่ร้อยละ 4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • โปรตีน  โปรตีนในข้าวโพดเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ค่ะ เพราะจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือไลซีนและทริบโตฟาน ควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดต่างๆ
  • วิตามิน  อุดมด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 รวมไปถึงเกลือแร่

สรรพคุณของข้าวโพด

ข้าวโพดช่วยบำรุงสายตา
ในข้าวโพดจะมีสาร เบต้าแคโรทีน (β-carotene) หรือที่เรารู้กันว่าเป็น โปรวิตามินเอ ร่างกายเราจะนำไปใช้สร้างสาร โรดอปซินนะครับช่วยให้ลดอัตราเสื่อมของลูกตาและป้องกันการเป็นโรคต้อกระจกตาด้วย อีกทั้งยังมี โฟเลตซึ่งจะช่วย สร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอในการเสื่อมสภาพของร่างกาย
ป้องกันโรคหัวใจ
ข้าวโพดจะมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ผูกกับใยที่ละลายกับน้ำดีจากคอเลสเตอรอลในตับของเรา ซึ่งจะช่วยให้คอเลสเตอรอลในร่างกาย สลายไปได้ดีอีกด้วย แถมยังอุดมไปด้วยโฟเลต, วิตามินบีที่ช่วยในการลดระดับของ homocysteine, กรดอะมิโนที่ตามผลิตภัณฑ์ในกระบวนการเมตาบอลิสำคัญ (เรียกว่ารอบการเติมหมู่เมธิ) ระดับสูงของ homocysteine สามารถทำลายเส้นเลือดที่นำไปสู่หัวใจวายโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ลดความดันในร่างกาย
ต้านมะเร็ง
นอกจากข้าวโพดจะมีสารที่ช่วยในการสร้าง โรดอปซิน ที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระแล้ว ข้าวโพดยังช่วยลดความเสี่ยงของโรค มะเร็งปอด และเส้นใยในข้าวโพดยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารเพื่อสุขภาพจึงลดความเสี่ยงของโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่
ช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร
เส้นใยอาหารแบบไม่ละลายน้ำ ในข้าวโพดจะช่วยให้ดี สำหรับริดสีดวงทวาร จากโรคทางเดินอาหาร หรืออาหารท้องผูก ทุเลาลง เนื่องจาก เส้นใยจะช่วยดูดซับน้ำ และช่วยระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
ช่วยบำรุงผิวพรรณ
อย่างที่เราทราบกันดีเรื่อง สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ในข้าวโพด ทำให้ผิวพรรณของเราไม่เหี่ยวย่น เปล่งปลั่งดูสดชื่นมีชีวิตชีวา

ตำลึง




สรรพคุณของตำลึง

ตำลึง

สรรพคุณของตำลึงประโยชน์ของตำลึง
ลักษณะ
ตำลึง  หรือ ผักตำลึง อีกหนึ่งคุณค่าทางด้านสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารทั้งประโยชน์ของตำลึงรวมอีกด้วยค่ะ และ สรรพคุณของตำลึก ก็ยังจัดเป็นสมุนไพรที่ดีราคาไม่แพงแถมยังหาซื้อได้ง่ายดายมาก ๆ อีกด้วยนะค่ะ และนอกจาก สรรพคุณของตำลึง แล้ว ประโยชน์ของตำลึง ก็ยังมีมากมายที่คุณพ่อบ้านและคุณแม่บ้านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเชียวนะค่ะ ว่าแล้ววันนี้ไม่ของพูดมากเรามาดูสาระน่ารู้เกี่ยวกับตำลึงที่เราได้ทำการรวบรวมมาให้นั่นก็คือ ประโยชน์ของตำลึง และ สรรพคุณของตำลึง นั่นเองค่ะ


ประโยชน์
  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่างๆในร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ และช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบเช้าเย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มระดับอินซุลิน
  6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง (ใบ,น้ำคั้นตำลึง)
  7. ประโยชน์ของตำลึง ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
  8. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียม)
  9. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  10. ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
  11. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
  12. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
  13. ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
  14. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
  15. ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
  16. ช่วยลดไข้ (ราก)
  17. ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
  18. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
  19. สรรพคุณของตำลึง ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
  20. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพ์นานๆ และมีอาการสายตาอ่อนล้า
  21. แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา (เถา)
  22. ช่วยแก้อาการตาช้ำแดง ด้วยการตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หอดตา (เถา)
  23. แก้อาการตาฝ้า (ราก)
  24. แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อนยาว 1 คืบ (จำนวน 3-4 ท่อน) นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟด้วยฟางจนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
  25. ประโยชน์ตำลึง ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสดๆ (ใบ)
  26. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก,หัว)
  27. ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
  28. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
  29. สรรพคุณใบตำลึง ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ,ดอก)
  30. ช่วยลดอาการคันและการอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น หมามุ้ย ถูกตัวบุ้ง ยุงกัด ใบตำแย แพ้ละอองพิษคูน พิษกาฬ เป็นต้น ด้วยการใช้ใบสด 1 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำแล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหายดี (ใบ)
  31. ใบตำลึง สรรพคุณช่วยแก้ฝีแดง (ผล)
  32. ตำลึงประโยชน์ช่วยดับพิษฝี (ใบ)
  33. แก้อักเสบ ด้วยการใช้น้ำจากเถาทาบริเวณที่เป็น (เถา)
  34. ช่วยดับพิษต่างๆ (เถา,ราก)
  35. ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล (ใบ,ราก)
  36. ประโยชน์ของใบตำลึง บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
  37. ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
  38. แก้งูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ (ล้างให้สะอาด) นำมาผสมกับพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  39. ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว (ใบ)
  40. ตำลึงสรรพคุณ ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้
  41. ใช้ทำทรีทเม้นท์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก (ยอดตำลึง)
  42. ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (ไก่ที่ถูกยุงกัดจนตาบวม เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา) อย่างแรกให้พลิกเอาหรองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ๆ (ขนาดเท่านิ้วก้อย) มาตัดเป็นท่อนๆ (ตัดข้อทิ้ง) แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี (เถา)
  43. ประโยชน์ของผักตำลึง นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น (ยอด,ใบ)
  44. ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริกหรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน (ผล)

คุณค่า


ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหาร ตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเหมือนกัน